วิธีการประมวลผลของข้อมูล

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) 

    คือ การกระทำหรือการจัดการต่อข้อมูล อาจเป็นข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ได้จากเอกสาร ต้นฉบับ เรียกว่าข้อมูลพื้นฐาน หรือข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้วเรียกว่า ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อดำเนินขั้นตอนในการประมวลผลในลักษณะต่างๆ เช่น การคำนวณ การเปรียบเทียบ การตรวจสอบเงื่อนไข ทำให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศที่มีความหมายและเป็นประโยชน์ตามต้องการ 



   ประเภทของการประมวลผลข้อมูล 
   การประมวลผลข้อมูลแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

   1. การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) หมายถึงการใช้แรงงานคนเป็นหลักในการประมวลผล โดยมีอุปกรณ์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการประมวลผล เช่น ดินสอ ปากกา ไม้บรรทัด กระดาษ ลูกคิด เครื่องคิดเลข วิธีการประมวลผลด้วยมือเหมาะกับงาน ที่มีปริมาณไม่มากนักและอยู่ในภาวะที่แรงงานยังมีการจ้างงานที่ไม่สูงนัก

   2. การประมวลผลด้วยมือกับเครื่องจักรกล (Manual With Machine Assistance Data Processing) หรือการประมวลผลด้วยเครื่อง จักรกล การประมวลผลแบบนี้จะเหมาะกับงานระดับกลางที่มีปริมาณไม่มากนัก และต้องการความเร็วในการทำงานในระดับพอสมควร การทำงานจะอาศัยแรงงานคน ร่วมกับเครื่องจักรกล เช่น เครื่องทำบัญชี หรือเครื่องประมวลผลกึ่งอิเล็กทรอนิกส์

   3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing)หรือการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกย่อๆ ว่า EDP คือ การประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 
ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล 
   1. การนำข้อมูลเข้า ซึ่งได้แก่การนำเข้าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อมที่จะทำการประมวลผลด้วย คอมพิวเตอร์นั้น คือการเปลี่ยนสภาพข้อมูลให้อยู่ในรูปที่เหมาะสม เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ การทำงานในขั้นตอนนี้ ได้แก่
   - การใส่รหัส คือการใส่รหัสแทนข้อมูล
   - การแปลงสภาพ คือ การเปลี่ยนตัวกลางที่ใชับันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไป ประมวลผลได้ เช่น ดิสก์เกตต์ เทป ฯลฯ

   2. การประมวลผลข้อมูล (Process) : เครื่องเริ่มทำการประมวลผล โดยข้อมูลที่ User นำเข้ามาจะส่งไปเก็บในหน่วยความจำหลัก (Memory :RAM) จากนั้น Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านระบบ Bus system จาก RAM ไปยัง ALU เพื่อให้ทำงานตามคำสั่ง

   3. การแสดงผลข้อมูล (Output) หลังจาก CPU ประมวลผลเสร็จเรียบร้อย Control Unit จะควบคุมการไหลของข้อมูลผ่าน Bus system เพื่อส่งมอบ (Transfer) ข้อมูลจาก CPU ไปยังหน่วยความจำ จากนั้นส่งข้อมูลออกไปแสดงผลที่ Output device ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล (Data) เรียกว่า ข่าวสารหรือสารสนเทศ (Information)

   4. การจัดเก็บข้อมูล (Storage) หน่วยจัดเก็บข้อมูล ซึ่งหมายถึงสื่อจัดเก็บสำรอง เช่น Harddisk Diskette หรือCD ทำงาน 2 ลักษณะ
   - การ Load ข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บอยู่ใน Harddisk แล้ว คุณต้องการ Load ข้อมูลขึ้นมา แก้ไขหรือประมวลผล ข้อมูลที่ถูก Load และนำไปเก็บในหน่วยความจำ (Memory:RAM) จากนั้นส่งไปให้ CPU
   - การเก็บข้อมูลเมื่อประมวลผลเสร็จ เมื่อ CPU ประมวลผลข้อมูลเสร็จ ข้อมูลนั้น จะถูกเก็บอยู่ในหน่วยความจำ (Memory:RAM) ซึ่ง RAM จะเก็บข้อมูลเพียงชั่วขณะที่เปิดเครื่อง (Power On) เมื่อไรที่คุณปิดเครื่อง โดยที่ยังไม่สั่งบันทึกข้อมูล (Save) ข้อมูลก็จะหาย (Loss) ดังนั้นหาก User ต้องการจัดเก็บข้อมูลเพื่อไว้ใช้งานในครั้งต่อไปจะต้องสั่งบันทึก โดยใช้คำสั่ง Save ไฟล์ข้อมูลก็ จะถูกนำไปเก็บในสื่อจัดเก็บสำรอง ได้แก่ Diskette Harddisk CD หรือ Thumb Drive แล้วแต่ว่าคุณจะเลือก Save ไว้ในสื่อชนิดใด

   Processor 
Processor หรือ CPU (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลาง จัดเป็นศูนย์กลางของเครื่องในการประมว ลผลข้อมูล เป็นชิป (Chip) ที่รวมชุดของวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับสมองของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ในการ “ควบคุม คำนวณทาง คณิตศาสตร์ (Arithmetic) เปรียบเทียบและประมวลผล” ซึ่งภายใน CPU แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่

   1. Control unit เป็นตัวควบคุมการเข้าถึงชุดคำสั่งของโปรแกรม ควบคุมการสื่อ การระหว่าง Memory กับ ALU โดยจะส่งข้อมูลและชุดคำสั่งจากสื่อจัดเก็บสำรอง (Harddisk) ไปยังหน่วยความจำ (RAM)

   2. Arithmetic/logic unit (ALU) ทำการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์และตรรก ศาสตร์ แยกการ ทำงานออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ส่วนคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ ส่วนเปรียบเทียบตรรกศาสตร์ (Logic) 

ความคิดเห็น